วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

💧💧งานที่ได้รัมอบหมาย💧💧


💨คริปสื่อการสอนคณิตศาสตร์ เกมรูปทรงพีชคณิต




👉วัตถุประสงค์
   👐เพื่อให้เด็กได้รับรู้เรื่องพีชคณิต ความสัมพันธ์คณิตศาสตร์
   👐เพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
   👐เพื่อให้เด็กได้รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆ

👉วิธีการเล่น
 💢 ให้เด็กสังเกต รูปทรง และ สี ที่เรากำหนดให้
 💢 ให้เด็กสังเกตตัวเลือกต่างๆ
 💢 ให้เด็กนำตัวเลือกที่ถูกต้องมาใส่ลงในแผงไช่ที่จัดไว้
 💢 เมื่อครบทุกคนก็ให้เด็กๆอธิบายสิ่งที่ได้ตัวเองได้ทำ

💨จากพฤติกรรมของเด็กๆที่ได้เล่น  👍 เกมรูปทรงพีชคณิต เด็กเดินมาถามว่าจะเอาอะไรให้เล่น และดิฉันก็อธิบายและสาธิวิธีการเล่นให้เด็กดูหนึ่งตัวเลือกแล้วให้เด็กเล่น เด็กๆเล่นกับเพื่อนปรัดกันว่างตัวเลือกไว้และมีบางคนที่แย่งตัวเลือกกันวางกับเด็กบางคนที่อย่างที่จะวางตัวเลือกทั้งหมดโดยไม่ให้เพื่อนคนอื่นเล่นด้วย เด็กของเล่นอีกรอบจนตัวเองรู้และเข้าใจกับเกมและไม่อยากเล่นเกมแล้ว


💗งานที่สอง
      👉อาจารย์ให้สร้างรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิตตามจินตนาการโดยอาจารย์กำหนดวัสดุอุปกรณ์คือมีดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟัน เป็นส่วนประกอบในชิ้นงานนี้



💤  รูปร่าง  รูปดาว ที่ทำจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟันเป็นส่วนประกอบ 💤


💦 รูปทรง รูปห้าเหลี่ยม ที่ทำจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟันเป็นส่วนประกอบ 💦




 💫รูปทรง รูปสี่เหลี่ยม ที่ทำจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟันเป็นส่วนประกอบ 💫



 รูปทรง รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่ทำจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟันเป็นส่วนประกอบ


💚งานที่สาม
   👉👉อาจารย์ให้ทำกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ผู้ปกครองเล่นกับลูก ให้ทำเป็นงานคู่


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ที่ 16 วัน เสาร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561  เวลา 08.30 12.-30

    
         
      ความรู้ที่ได้รับ

 วันนี้อาจารย์ให้การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์และสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กในการสอนกิจกรรม  
กลุ่มเเรก นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ ได้นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบพาเวอร์พอยท์และสรุปพฤติกรรมเด็กได้อย่างสมบูรณ์ คำแนะนำเพิ่มการใช้เครื่องมือวัดที่คงที่ ทำสือการ
กลุ่มสอง นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ นำเสนอสื่อเรขาคณิตและได้สรุปเนื้อหาจากการอธิบาย และคลิปวิดีโอ      ได้รับคำแนะนำในการบันทึกการสังเกตเด็ก ปรับแก้การนำเสนอ





กลุ่มที่สาม นางสาวปวีณา  พันธ์กุล นำเสนอสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีการสาธิตการเล่นสื่อแบบอนุกรม  วิธีการเล่น คือการเพิ่มโจทย์ในการกำหนดให้เด็กเล่นอนุกรม โดยใช้สีเป็นตัวแบบ เช่น แดง เหลือง แดง  แดง เขียว เหลือง แดง  แดงเขียว เหลือง และใช้คำถามว่า ช่องที่ว่างจะเป็นสีอะไร  เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด

กลุ่มที่สี่ นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม นำเสนอสื่อเรื่อง เกม บวก ลบ มหาสนุก
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนการเล่น  และให้ชมคลิปวิดีโอ ปรับแก้ด้านการนำเสนอ ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ในวิธีการสอน การอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน

กลุ่มที่ห้า นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว เรื่องเครื่องชั่ง ในการนำเสนอมีเนื้อหาสมบูรณ์ มีภาพการนำเสนอที่น่าสนใจ

กลุ่มที่หก นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น มีคลิปวิดีโอ  อาจารย์ให้คำแนะนำในการถ่ายคลิป การนำเสนอ การสังเกตพฤติกรรมเด็ก

กลุ่มที่เจ็ด นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ นำเสนอสื่อเรื่องตกปลาได้เลข ในการนำเสนอมีคลิปวิดีโอ การนำเสนอที่ชัดเจน มีวิธีการสอนเด็กที่น่าสนใจ เด็กๆอยู่นิ่งไม่วุ่นวาย

กลุ่มที่แปด นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอสื่อการสอนเรื่องขนาดของหลอด  ปรับแก้วิธีการเล่นและการอธิบายเนื้อหา

กลุ่มที่เก้า นางสาววิจิตรา  ปาคำ นำเสนอสื่อการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและสี  มีการอธิบายวิธีการและการสังเกตเด็กจากคลิปวิดีโอ อาจารย์เพิ่มให้บอกวิธีการสอนจากง่ายไปยาก

กลุ่มที่สิบ นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล นำเสนอสื่อการสอนเรื่องจับคู่สีรูปภาพ






ประเมินการเรียน
ประเมินตนเอง ตื่นเต้นกับการนำเสนอ และอธิบายได้เข้าใจบ้าง
ประเมินเพื่อน เพื่อนนำเสนองานได้ดีเข้าใจและมีคริปให้ดู
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำเเนะนำ และการปรับปรุงเกี่ยวกับการนำเสนอ การเล่นสื่อ 


วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วัน พุธ ที่ 25 เมษยน พ.ศ. 2561 เวลา 08.30-12.30 น. 
ความรู้ที่ได้รับ



       วันนี้ก่อนเริ่มการเรียน เพื่อนก็ได้ออกมานำเสนอวิจัย ของนางสาวรัติยากรณ์ ศาลาฤทธ์ เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
ตัวเเปรต้น = ศิลปะสร้างสรรค์
ตัวแปรตาม = ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                                                   
กิจกรรมการทำศิลปะสร้างสรรค์เพื่อวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ 5 เรื่อง
1. การบอกตำแหน่ง 5 ข้อ
2.การจำแนก 5 ข้อ
3.การนับ 5 ข้อ
4.การรู้ค่าจำนวน 5 ข้อ
5.การเพิ่ม - ลด 5 ข้อ


   
อาจารย์ให้เอาสื่อมาวางแล้วนำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่" ของกลุ่มเรียน 121

























ประเมินผู้สอน 
ประเมินตนเอง  เตรียมตัวไม่พร้อมกับการเอาสื่อมานำเสนอ 
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆทำสื่อได้สวยงาน และเตรียมตัวมาพร้อม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำแนะนำและบอกปรับปรุงการทำสื่อ


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วัน พุธ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้ทุกคนนำสื่อมาตรวจและดูความคืบหน้าของแต่ละคู่ และอาจารย์ก็แนะนำวิธีการให้สื่อสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และบอกว่าควรปรับส่วนไหนบ้าง 



จากนั้นก็เข้าสู่บทเรียน
การคิดวิเคราะห์ของเด็ก การตั้งประเด็นให้เด็กคิดนำเอาสิ่งของที่รักหรือชอบมากที่สุดในโรงเรียน  และให้เด็กแตกประเด็นย่อยๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของเด็กๆ
การวัดและเครื่องมือการวัด
การสังเกต →   ถามคำถามสนทนาพูดคุยกับเด็ก →  ดูผลงานตามสภาพจริงของเด็กที่สะท้อนการพัฒนา →  ก่อนการประเมินต้องวัดค่าเปรียบเทียบพัฒนาการ

                           


สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน  หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
ได้เรียนรู้เรื่องเวลา ยามเช้า  บทบาทหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน
เพลงซ้าย - ขวา
 ยืนให้ตรงก้มหัวลงตบมือแผละ   แขนซ้ายอยู่ไหนหันหัวไปทางนั้นแหละ
ได้เรียนรู้ตำแหน่งซ้าย - ขวา 
เพลงเข้าแถว
เข้าแถว  เข้าแถว  อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน  ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
ได้เรียนรู้ตำแหน่ง แถว  หน้าที่กิจวัตรประจำวัน  ความเร็ว - ช้า
เพลงจัดแถว 
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อมาย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
ได้เรียนรู้เรื่องตำแหน่ง การชูมือ
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน  อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ได้เรียนรู้จำนวนของเดือนใน 1 ปี มี 12 เดือน และ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การเรียงลำดับวัน

อาจารย์แจกกระดาษให้คนล่ะ 1 แผ่น เขียนถามตอบ
 1.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
2.การอนุรักษ์ หมายถึง
3.เมื่อไหร่ที่รู้ว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็ก
5.สาระที่ 6 ประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง มีการกำหนดมาตรฐานหรือไม่
6.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย จะรู้อะไรบ้าง


ประเมินการเรียน
ประเมินตนเอง ได้รู้เรียนคณิตศาสตร์จากเพลง และความรู้ในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน เพื่อนสนุกกับการเรียนได้ร้องเพลงสนุกๆ เเละได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนอีกมากมาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์บอกเทคนิดการร้องเพลงและให้คำแนะนำในการไปปรับปรุงสื่อ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 08.30-12.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ
   
เริ่มการเรียน เพื่อนได้ออกมานำเสนอ วิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
โดย วิจิตรา จันทร์ศิริ มหาวิทยาลัยบูรพา                                                                                                               
จากนั้นอาจารย์ก็ดูความคืนหน้าของสื่อที่อาจารย์สั่งไว้ว่าเริ่มทำกันหรือยัง อาจารย์ดูความคืบหน้าของสื่อแผงไข่ของแต่ล่ะคู่และพร้อมให้ไปปรับปรุงงาน บอกคำแนะนำในการใช้สื่อ โดยให้คอนเซปว่าต้อง ประหยัด เรียบง่าย และให้ใช้วัสดุของเหลือใช้ที่หาได้ง่าย

ต่อไปอาจารย์ให้ดูลูกแก้วในขวดโหลแล้วส่งต่อๆให้ครบเพื่อนทุกคนโดยให้ดูว่าในขวดมีลูกแก้วอยู่กี่ลูก ผลที่ออกคือมีลูกแก้ว 19 ลูก จากนั้นให้หยิบใส่หลุมไข่ ทีล่ะ 1 ลูก ทำให้รู้จำนวนท่ีถูก


 ดิฉันกำลังหยิบลูกแก้วออกมานับพร้อมกันกับเพื่อนๆที่ล่ะลูก 

ประเมินการสอน
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังและตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน เพื่อนทุกคนมาเรียนครบตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำแนะนำในการเรียนเารสอนและบอกเทคนิกเรียนเรียนสำหรับนักศึกษา


💧💧งานที่ได้รัมอบหมาย💧💧 💨คริปสื่อการสอนคณิตศาสตร์ เกมรูปทรงพีชคณิต 👉วัตถุประสงค์    👐 เพื่อให้เด็กได้รับรู้เรื่อง...